คุณลักษณะของยาที่แตกต่างกันมีวิธีต้มที่ไม่เหมือนกัน

Last updated: 26 เม.ย 2560  |  819 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คุณลักษณะของยาที่แตกต่างกันมีวิธีต้มที่ไม่เหมือนกัน

คุณลักษณะของยาที่แตกต่างกันมีวิธีต้มที่ไม่เหมือนกัน

เนื่องจากยาสมุนไพรจีนแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน ทั้งยังมาจากแหล่งเพาะปลูกที่ต่างกันอีกด้วย คุณภาพของยาก็จะแตกต่างกันด้วย จุดมุ่งหมายของการต้มยานั้นก็เพื่อให้สมุนไพรแต่ละตัวออกฤทธิ์ยาได้มากที่สุด โดยสามารถสรุปวิธีการต้มได้ดังต่อไปนี้

1.ต้มก่อน (ยาที่จำเป็นต้องต้มก่อน)
-ต้มก่อน 10-20 นาที หลังจากนั้นค่อยใส่ยาตัวอื่น:
ตัวยาบางชนิดมีความแข็งมาก ยากที่จะต้มเอาฤทธิ์ยาที่มีประโยชน์ออกมาได้ ดังนั้นจึงต้องต้มก่อน เช่น ตัวยาจำพวกแร่หิน เปลือกหอย เขาหรือกระดองสัตว์
(ตัวอย่างยา: สือเกา หลงกู่ เจินจูหมู่)

-ต้มก่อนประมาณ 30-40 นาที:
ตัวยาที่มีพิษก็จำเป็นที่จะต้องต้มก่อน ต้มนานๆ เพื่อให้พิษของยาอ่อนลงหรือหายไป
(ตัวอย่างยา: เซิงฟู่จื่อ และยาจำพวกอูโถว)

2.ใส่ทีหลัง (ยาที่จำเป็นต้องต้มที่หลัง)
-ก่อนที่ยาหลักทั้งหมดจะต้มเสร็จประมาณ 5-10 นาที ค่อยใส่ลงไปต้ม:
ส่วนมากจะเป็นตัวยาที่มีกลิ่นหอม มีน้ำมันระเหย หรือเป็นยาที่ไม่เหมาะสมกับการต้มนานๆ การต้มทีหลังจะช่วยไม่ให้สูญเสียสารที่ออกฤทธิ์
(ตัวอย่างยา: ฮว่าเซียง ป้อเหอ ต้าหวง)

3.ใส่ถุงต้ม
-นำตัวยาใส่ลงในถุงผ้าขาวบางหรือมัดไว้แล้วค่อยนำมาต้ม:
ส่วนมากจะใช้กับตัวยาจำพวกชนิดผง มีขน หรือเมล็ดเล็กๆ ต่างๆ เช่น ยาที่สามารถละลายติดหม้อได้ การห่อไว้จะช่วยกันไม่ให้ยาติดก้นหม้อจนไหม้ หรือตัวยาบางตัวที่มีขนและสามารถหลุดออกได้อย่างง่ายดาย การห่อไว้สามารถช่วยให้ขนไม่ระคายในลำคอในตอนรับประทาน
(ตัวอย่างยา: เชอเฉียนจื่อ เสวียนฟู่ฮวา)

4.ต้มต่างหาก (ไม่ต้มรวมกับยาตัวอื่น)
-นำไปต้มต่างหาก หลังจากนั้นนำน้ำยาที่ได้มาผสมกับยาตัวอื่น แล้วค่อยรับประทาน:
ยาบางตัวที่มีราคาแพงใช้วิธีต้มต่างหากเพื่อให้สารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ของยาออกมาให้มากที่สุด
(ตัวยายา: เกาหลีเซิน ซีหยางเซิน ลู่หรง และตัวยาอื่นๆ ที่มีราคาสูง)

Reference: หนังสือ "รู้เลือกรู้ใช้ 100 สมุนไพรจีน"

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้